บริษัท เจริญกรุงชุมพร จำกัด

 เข้าสู่ระบบ - สมัครสมาชิก  

(gallery) 2010224_53247.jpg

 เลือกอะไรดีระหว่างทีวีแอลซีดีหรือทีวีพลาสม่า?

ทั้งจอแอลซีดีและพลาสม่า ต่างก็บาง ทันสมัย และเป็นสะดุดตาด้วยภาพความละเอียดสูง มุมมองกว้าง และไม่ติดขัด แต่ว่าแบบไหนล่ะ ที่เหมาะกับคุณ

พลาสม่าคืออะไร

พลาสม่าคือทีวีจอแบน ที่ใช้ปรากฏการณ์พลาสม่าในการสร้างแสงสีต่างๆ โดยก๊าซที่อยู่ในพลาสม่าจะทำปฏิกิริยากับฟอสเฟอร์ทำให้พิกเซลแต่ละพิกเซลเรืองแสง ให้สีที่เจิดจ้าและภาพที่คมชัด
เพราะจอพลาสม่าสามารถสร้างแสงขึ้นมาได้เอง contrast ratio จึงคม ชัด ลึกและแสดงภาพภาพเคลือนไหวรวดเร็วได้อย่างลื่นไหล ชัดเจน จึงเป็นเหตุผลที่ลูกค้าบางคนเลือกใช้ทีวีพลาสม่าแทนที่จะใช้ทีวีแอลซีดีเพื่อชมกีฬาและภาพยนตร์แอคชั่น ทีวีพลาสม่ายังเด่นในเรื่องการให้ความดำลึก สีดำที่ดำสนิท และสีอื่นๆ ที่แม่นยำสมจริงอย่างไม่น่าเชื่อ ทำให้เหมาะกับการชมภาพยนตร์ ที่เต็มไปด้วยฉากมืดๆ
ด้วยเหตุผลหลายประการ ผู้เชี่ยวชาญจึงยกย่องให้ทีวีพลาสม่าเป็นตัวเลือกที่ดีกว่าในบรรยากาศแบบโฮมเธียเตอร์ อันดับแรก ทีวีพลาสม่าแสดงภาพได้ดีกว่าในห้องที่มีคุณสามารถควบคุมระดับของแสงได้ เช่น ห้องโฮมเธียเตอร์ เหตุผลข้อที่สอง คือ ทีวีพลาสม่าจะมีมุมมองที่กว้างกว่าทีวีแอลซีดี ดังนั้นไม่ว่าคุณจะนั่งที่มุมไหนของห้อง คุณก็สามารถเต็มอารมณ์กับภาพและสีได้ชัดเจน

แอลซีดีคืออะไร

ทีวีแอลซีดีเป็นทีวีระบบดิจิตอล ที่มีการกำหนดพิกเซลแบบตายตัว โดยแต่ละพิกเซลจะประกอบไปด้วยเม็ดสีเล็กๆ 3 สี ได้แก่ แดง เขียวและน้ำเงิน ภาพที่ปรากฏบนหน้าจอแอลซีดี เกิดจาก backlight ที่อยู่ด้านหลังจอ ผ่านตัวกรอง จากนั้นแต่ละพิกเซลจะสร้างความสว่างที่ต่างกันออกมา
แอลซีดีมีข้อได้เปรียบอย่างนึงคือ มีมากมายหลายขนาด โดยเริ่มตั้งแต่ 15 นิ้ว ไปจนถึง 55 นิ้ว โดยแอลซีดีทีวีขนาดเล็ก จะมีทั้งจอปกติแบบ 4:3 และ widescreen ส่วนจอที่มีขนาดใหญ่กว่า 22 นิ้วขึ้นไป จะมีแต่แบบ widescreen และจะเป็น enhanced definition (ED) หรือ high definition (HD) เท่านั้น
นอกจากนี้ทีวีแอลซีดี ยังมีข้อได้เปรียบอีกหลายด้าน ด้วยขนาดที่มีมากมาย จึงทำมีหลากหลายราคาเช่นกัน ดังนั้นคุณจึงสามารถเลือกซื้อได้ตามงบประมาณของคุณ เพราะจอแอลซีดีที่ใช้ backlight ที่มีกาดลดและเพิ่มแสงในการกำเนิดภาพ ภาพจึงไม่สว่างเกินไปแม้จะอยู่ในห้องที่มีแสงสว่างมากๆ หรือพูดง่ายๆ คือเหมาะกับห้องที่ไม่สามารถควบคุมแสงได้ อีกทั้งแอลซีดียังให้ภาพที่น่าตื่นตาไม่ว่าจะเป็นวิดีโอเกมหรือคอมพิวเตอร์กราฟฟิก ไม่ว่าคุณจะชมอะไร แอลซีดี จะให้ภาพความละเอียดสูงที่คุณจะตะลึง

ขอขอบคุณข้อมูลจาก (gallery) 2010227_46303.jpg

 

 

การเลือกซื้อโปรเจคเตอร์ (Projector)

อุปกรณ์ด้านไอทีนั้นมีอยู่อย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นของชิ้นเล็กหรือชิ้นใหญ่ ของราคาถูกหรือราคาแพง แต่อุปกรณ์เหล่านี้เมื่อทำการซื้อมาแล้วก็จะต้องมีการใช้งานให้คุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็นการใช้งานในลักษณะใดก็ตาม แต่สำหรับ Projector (โปรเจคเตอร์) ที่เป็นอุปกรณ์ราคาแพงก็จะต้องมีการใช้งานกันอย่างทะนุถนอมกันหน่อย

Projector (โปรเจคเตอร์) เป็นอุปกรณ์ที่สำคัญคือ เครื่องฉายไฟ, เลนส์ และมีพอร์ต RGB ในการที่จะเลือกซื้อเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นก็ต้องให้ความพิถีพิถันกันบ้างเนื่องจากตัว Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูง แต่ถ้าหากรู้จักการใช้งานอย่างเหมาะสมก็นับว่าคุมค่ากับการหาซื้อมาใช้งาน เนื่องจากตัว Projector (โปรเจคเตอร์) เองนั้นสามารถใช้ในการประชุมสัมมนา, นำเสนอโครงการต่างๆ หรือแม้แต่ใช้เพื่อความบันเทิงในบ้านก็สามารถทำได้ จึงเห็นได้ว่า Projector

(โปรเจคเตอร์) นั้นให้ประโยชน์ในการใช้งานที่กว้างขวางพอสมควร

 สำหรับการแนะนำการเลือกซื้อตัว Projector (โปรเจคเตอร์) เพื่อนำมาใช้งาน โดยจะมีข้อมูลที่จำเป็นในการเลือกซื้อต่างๆ ก็มาดูกันเลยดีกว่าจะทำอย่างไรดี

ขนาด/น้ำหนัก
                 ขนาดและน้ำหนักนี้จะเป็นส่วนที่บอกความต้องการของผู้ใช้งานได้เป็นอันดับต้นๆ เนื่องจากก่อนที่จะซื้อ Projector (โปรเจคเตอร์) มาใช้งานก็จะต้องรู้จักหรือทราบสถานที่ที่ต้องใช้งานก่อนว่าเป็นสถานที่แบบใด มีเนื้อที่ขนาดไหน จึงจะสามารถที่จะเลือกซื้อได้ เพราะหากพื้นที่ที่ใช้งานมีขนาดเล็กแต่ซื้อเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ที่มีขนาดใหญ่มาก็ดูจะไม่เหมาะสมเท่าไร ในขณะเดียวกัน Projector (โปรเจคเตอร์) ที่ใช้งานก็มีอยู่หลายประเภทด้วยไม่ว่าจะเป็นสำหรับการถือพกพา, ตั้งโต๊ะ หรือแม้แต่กระทั่งแหวนพนเพดาน โดยขนาดแต่ละแบบก็เหมาะสำหรับงานแบบหนึ่งอาจจะนำมาใช้งานกับแบบอื่นๆ ไม่เหมาะสมเท่าไรนัก ก็ขอแยกออกเป็นชนิดดังนี้


                 ชนิด Ultra Portable น้ำหนัก 4-10 ปอนด์ เหมาะสำหรับนักเดินทาง หรือการพกพาไปยังที่ต่างๆ ใช้ในพื้นที่ที่ไม่มากเท่าไรนัก แต่อย่างไรก็ตามเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ที่มีน้ำหนักเบาเกินไปอาจทำให้คุณภาพของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) บางรุ่นลดต่ำลงไปด้วย เช่นค่าความคมชัด, ค่าความสว่าง แต่ถ้าเครื่องยิ่งมีขนาดเล็กและมีคุณสมบัติที่ดีนั่นก็หมายความถึงราคาที่แพงขึ้น เป็นเงาตามตัวด้วย 

                ชนิด Portable น้ำหนัก 10-20 ปอนด์ เหมาะสำหรับใช้ในห้องประชุมหรือห้องสัมมนาทั่วไป หรือห้องที่มีขนาดใหญ่ขึ้นมาสักหน่อย เนื่องจากตัวเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) จะให้ความคมชัดและความสว่างที่ดีกว่าแบบแรก

                ชนิด Conference น้ำหนัก 20 ปอนด์ขึ้นไป เหมาะสำหรับการติดตั้งแบบถาวร กึ่งถาวร หรือมีการเคลื่อนย้าย น้อยครั้ง และด้วยเครื่องที่ขนาดนี้ก็รับประกันได้เลยว่าตัวเครื่องนั้นมีความสามารถที่เป็นเยี่ยมอย่างแน่นอน แต่มันก็มีขนาดที่หนักและเคลื่อนย้ายลำบาก แต่ถ้าดูแล้วความสามารถของเครื่องไม่เหมาะสมกับราคาและน้ำหนักก็ให้มองข้ามรุ่นนั้นไปได้เลย
                 เนื่องจากในปัจจุบันนี้เครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ยังไม่มีรุ่นที่แบบเล็กมากๆ แต่ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดบ้านเราก็สามารถใช้งานได้หลากหลายแล้ว แต่ถ้ามีงบประมาณที่พอก็อาจจะเพิ่มการเลือกซื้อในรุ่นที่ใหญ่กว่าเนื่องจากมีความสามารถและคุณสมบัติที่มากกว่าการใช้งานรุ่นเล็กซึ่งก็จะทำให้คุ้มค่ากว่าได้

DLP หรือ LCD
                 ตัวย่อสองตัวนี้หมายถึงเทคโนโลยีของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ซึ่ง DLP ย่อมาจาก Digital Light Processing ส่วน LCD ก็ย่อมาจาก Liquid Crystal Display ซึ่งทั้งสองแบบนี้ก็ต่างกันที่ DLP เป็นเทคโนโลยีแบบดิจิตอลล้วน ๆ ที่สามารถทำให้การนำเสนอผลงานหรือสร้างผลงานให้มีความคมชัดสูงและมีความสว่างที่มากกว่าให้สามารถอัดแน่นอยู่ในพื้นที่ขนาดที่เล็กๆ ได้ ดังนั้นจะเห็นได้ว่าเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) แบบ Ultra Portable ที่วางขายอยู่ในท้องตลาดนั้นโดยมากจะใช้เทคโนโลยี DLP นี้ โดยเทคโฯโลยีนี้ก็อยู่บนพื้นฐานของ digital micromirror display (DMD)

(gallery) 2010227_57251.jpg

รูปการทำงานของโปรเจคเตอร์แบบ DLP

ส่วนเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) แบบ LCD นั้นจะด้อยกว่าแบบ DLP ตรงที่เครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) แบบ LCD นั้นยังมีบางส่วนที่เป็นระบบอะนาล็อก รวมอยู่ด้วย และด้วยเครื่องฉายภาพระบบ DLP สามารถที่จะให้ความคมชัดที่สูงกว่า และให้ความถูกต้องของสีมากกว่าเนื่องจากได้รับประโยชน์จากการทำงานแบบดิจิตอลทำให้หมดปัญหาในเรื่องของการบิดเบือน หรือการลดทอนสัญญาณในกระบวนการแปลงค่าดิจิตอลให้เป็นอะนาล็อกอย่างที่เกิดขึ้นในระบบ LCD

  

(gallery) 2010227_57287.jpg

รูปการทำงานของโปรเจคเตอร์แบบ LCD

 
                 แต่อย่างไรก็ตามเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ในระบบ LCD ก็ได้ถูกพัฒนาขึ้นมาให้มีความสามารถที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก เพื่อที่จำลดข้อด้อยดังที่กล่าวมาซึ่งในบางครั้งก็อาจจะทำให้แยกไม่ออกในเรื่องของการทำงานว่าเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) เครื่องไหนเป็นระบบ DLP หรือเครื่องไหนเป็นระบบ LCD ก็เมื่อไปทำการเลือกซื้อก็ให้ทดลองฉายภาพดูแล้วทำการเปรียบเทียบภาพที่ได้ว่าเหมาะสมหรือไม่ ส่วนเรื่องของราคาเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ในระบบ LCDอาจจะถูกกว่าเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ในระบบ DLP บ้างที่ความสามารถเท่าๆ กัน แต่ตรงนี้ก็วัดอะไรไม่ได้มากนัก เนื่องจากขึ้นอยู่กับคุณสมบัติ ฟังก์ชัน หรือฟีเจอร์อื่นๆ ด้วยซึ่งอาจจะทำให้ราคาเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ในระบบ LCD แพงกว่าราคาเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ในระบบ DLP ก็ได้

 ค่าความสว่าง/หลอดไฟ
                 การใช้งานเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์)ในห้องที่มีขนาดใหญ่หรือมีคนมากๆ สิ่งที่สำคัญก็คือภาพที่ฉายออกไปนั้นจะต้องมีขนาดที่ใหญ่ มีความสว่างในการใช้งานดี ความคมชัดสูงเพื่อให้คนต่างๆ เหล่านั้นได้เห็นภาพที่ชัดเจน และสิ่งที่ทำให้เกิดความสามารถนี้ได้ นั่นก็คือความสว่างของการฉายภาพ เพราะหากแสงไม่พอภาพที่ได้นั้นจะไม่มีความคมชัด นอกจากนั้นความสว่าง ที่ว่านี้ยังส่งผลโดยตรงต่อการนำเสนอแล้วยังแปรผันโดยตรงกับความสว่างของห้องด้วย คือ ถ้าความสว่างของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นน้อยก็จะต้องทำการปรับความสว่างของห้องที่ใช้งานให้น้อยหรือมืดไปเลยตามไปด้วย แต่ถ้าหากเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) มีความสว่างที่มากพอ แม้ว่าห้องที่ใช้งานอยู่นั้นจะมีการเปิดไฟหรือมีความสว่างอยู่บ้าง ก็จะทำให้ภาพที่ได้ยังคมชัดอยู่ และยังสามารถใช้ความว่างนั้นทำกิจกรรมอย่างอื่นไปได้ด้วยเช่นการจดบันทึก หรือโน้ตย่อตามการนำเสนอนั้นๆ ร่วมกันไปด้วยได้
                 ค่าความสว่างของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) นี้มีหน่วยวัดเป็น ANSI lumen ยิ่งมีค่ามากเท่าไรก็ยิ่งมีความสว่างของเครื่องมากขึ้นเท่านั้น ซึ่งก็จะช่วยให้คุณภาพของภาพที่ได้มีขนาดใหญ่ และมีความคมชัดมากขึ้น สำหรับการเลือกซื้อก็จะต้องมีการพิจารณาประกอบดังนี้

ค่าความสว่าง
ความเหมาะสม
น้อยกว่า 500 ANSI lumens ห้องขนาดเล็ก
จำนวนผู้ฟังน้อย
ในห้องที่มืด หรือไม่ต้องการแสงสว่าง
500 - 1,000 ANSI lumens ในห้องประชุมตามสำนักงานต่างๆ หรือในห้องเรียน
จำนวนผู้ฟังขนาดกลาง
ต้องการแสงสว่าง ในการนำเสนอบ้าง แต่ไม่มากนัก
1,000 - 1,500 ANSI lumens ห้องประชุมขนาดใหญ่ หรือในห้องเรียนรวม
ฉายในห้องที่มี แสงสว่างปกติ
มากกว่า 1,500 ANSI lumens สถานที่ขนาดใหญ่, ตามศูนย์การประชุมต่างๆ
ฉายในห้องที่มี แสงสว่างปกติ

                 ถ้ามีงบประมาณที่เพียงพอก็ให้พยายามเลือกซื้อรุ่นที่มีค่า ANSI lumen สูงๆ เท่าที่จะสามารถทำได้ เพราะจะช่วยให้คุณภาพของภาพที่ได้มีความคมชัดมากขึ้น แต่ค่าความสว่างนี้ก็ยังขึ้นอยู่กับหลอดไฟหรือชนิดของหลอดไฟด้วย โดยทั่วไปหลอดไฟที่ใช้ในเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ก็มีอยู่ 2 ประเภทใหญ่ๆ คือแบบ Metal Halide และ UHP (Ultra-High Performance) โดย แบบ Metal Halide นั้นจะเป็นเทคโนโลยีเก่าที่ถูกใช้มานานแล้วทำให้คุณภาพของภาพที่ได้ออกมาไม่ดีเท่าที่ควร เพราะเมื่อใช้งานไปนานจะสูญเสียความสว่างลงไปอีกทั้งยังเกิดความผิดเพี้ยนของสีของภาพอีกด้วย ในขณะที่เทคโนโลยี UHP นั้นจะยังคงรักษาประสิทธิภาพเอาไว้ตลอดอายุการใช้งานอีกเช่นเดียวกันราคาก็จะสูงกว่าบ้าง แต่ถ้าดูอย่างอื่นๆ ประกอบด้วยโดยรวมถ้าราคาใกล้เคียงกันแบบ UHP ก็เป็นส่วนที่น่าสนใจกว่า

ความละเอียด/ความคมชัด
                 ตัว Projector (โปรเจคเตอร์) รุ่นต่างๆ ก็จะมีคุณภาพที่แตกต่างกันไป เนื่องจากตัว Projector (โปรเจคเตอร์) จะมีวิธีการสร้างภาพที่ต่างกัน แต่ก็จะใช้การเรียนของจุดสีหรือที่เรียกว่า "พิกเซล" ประกอบกันขึ้นมาทีละแถวหรือเส้นและเมื่อรวมกันเข้าหลายๆ เส้นก็จะเกิดเป็นภาพขนาดใหญ่ขึ้นมาได้ ซึ่งนั่นก็หมายความว่า ความคมชัดหรือความละเอียดของภาพนี้ก็ขึ้นอยู่กับการสร้างจำนวนจุดสีหรือพกเซลนี้ขึ้นมาได้มากน้อยแค่ไหน
                 ความละเอียดของ Projector (โปรเจคเตอร์) นี้จะมีการแสดงค่าเป็นตัวเลข 2 จำนวน เช่น 800 X 600 พิกเซล โดยตัวเลขแรก หมายถึงจำนวนพิกเซลที่มีการจัดเรียงกันตามแนวนอน ส่วนตัวเลขที่สอง หมายถึง จำนวนพิกเซลที่มีการจัดเรียงกันในแนวตั้ง ตัวเลขทั้ง 2 ตัวนี้ยิ่งมีค่าสูงมากเท่าไรก็หมายถึงว่าค่าความคมชัดและรายละเอียดของภาพจะสูงมากขึ้นตามไปด้วย แต่สำหรับการใช้งานนั้นค่าความละเอียดหนึ่งอาจจะเหมาะสมกับงานประเภทหนึ่ง เนื่องจากถ้ามีการซื้อเครื่องที่มีความละเอียดสูงมาใช้งานเกินความจำเป็นก็จะทำให้เป็นการสิ้นเปลืองงบประมาณโดยใช่เหตุ ก็ขอให้พิจารณาจากตัวอย่างการใช้งานนี้

  • หากมีการนำเสนอหรือแสดงผลการด้วยโปรแกรม PowerPoint ภาพที่จะออกมานั้นก็จะเป็นกราฟิกเป็นส่วนใหญ่ โดยจะไม่มีความซับซ้อนหรือรายละเอียดของภาพมากนัก ก็อาจจะใช้ Projector (โปรเจคเตอร์) ที่มีความละเอียดที่ 800 x 600 พิกเซลก็ได้
  • ถ้ามีการใช้โปรแกรมประเภทตาราง หรือมีการเสนองานที่อยู่ในรูปแบบของตาราง หรือรูปภาพกราฟิกที่มีรายละเอียดที่ค่อนข้างสูงขึ้นมาสักหน่อยก็แนะนำให้ใช้ Projector รุ่น XGA ที่มีความละเอียด 1,024 x 768 พิกเซล ก็จะทำให้รายละเอียดของภาพนั้นมีความคมชัดมากขึ้น
  • หากในการนำเสนอมีการใช้โปรแกรมประเภทออกแบบผลิตภัณฑ์ หรือประเภท CAD/CAM ต้องเลือกซื้อรุ่นที่มีความคมชัดสูงสูงในระดับ SXGA โดยจะมีความละเอียดที่ 1,280 x 1, 024 พิกเซล ก็เพื่อช่วยให้รายละเอียดของภาพนั้นไม่มีการบิดเบือนไปจากภพาจริงมากนัก เนื่องจากภาพประเภทนี้เป็นภาพที่มีรายละเอียดสูง มีความซับซ้อนมาก

                 ความละเอียดของตัว Projector (โปรเจคเตอร์) มีมากเพียงใดแต่ถ้ารุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ไม่รองรับ หรือไม่สามารถที่จะแสดงภาพได้เต็มความสามารถของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ความละเอียดที่มีสูงๆ ก็เป็นสิ่งที่ไร้ประโยชน์ไป ก็ให้ทำการตรวจสอบรุ่นของเครื่องคอมพิวเตอร์ว่าสามารถที่จะใช้งานกับ Projector (โปรเจคเตอร์) รุ่นที่ต้องการนี้ได้หรือไม่
                 นอกจากนี้แล้วตัวเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ยังขึ้นอยู่กับค่า Contrast Contrast หรือค่าความต่างของตัวเครื่องด้วย โดยค่านี้จะแสดงถึงความแตกต่างระหว่างค่าสูงสุดของความสว่างและความมืดที่อยู่บนจอภาพ ซึ่งค่า Contrast ที่ดีควรจะอยู่ในอัตราส่วน 150:1 หรือมากกว่า ซึ่งถ้าค่า Contrast ยิ่งมากเท่าไรก็จะช่วยให้เกิดมิติและความคมชัดของภาพได้สูงขึ้นเท่านั้น แต่ค่า Contrast นี้จะไม่ค่อยมีผลเท่าไรกับภาพที่คุณภาพของภาพต่ำ ดังนั้นถ้าเป็นไปได้ก็ให้ทำการเลือกซื้อ Projector (โปรเจคเตอร์) ที่มีค่า Contrast สูงๆ ไว้ก่อน

พอร์ตต่างๆ ของเครื่อง
                 ความจำเป็นในการใช้งานของ Projector นั้นอาจจะไม่เหมือนกันทั้งหมด ดังนั้นเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) จึงจะต้องมีพอร์ตสำหรับการเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ต่างๆ ให้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ แต่นั่นก็จะหมายถึงราคาของเครื่องที่อาจจะเพิ่มขึ้นมาด้วย เนื่องจากพอร์ตจะเป็นส่วนช่วยเพิ่มความหลากหลายในการใช้งานของ Projector (โปรเจคเตอร์) ได้มากยิ่งขึ้น แต่พอร์ตที่มีแน่ๆ ใน Projector (โปรเจคเตอร์) ทุกเครื่องก็คือ พอร์ต RGB In ที่เป็นพอร์ตสำหรับเชื่อมต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์ ส่วนพอร์ตอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหรือมีใน Projector (โปรเจคเตอร์) บางรุ่นก็มี

                1. พอร์ต RGB Out เพื่อที่จะช่วยในการต่อเชื่อมจอภาพภายนอกเข้ากับเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ได้ช่วยให้ภาพสามารถแสดงได้ทั้งที่จอมอนิเตอร์และบนจอฉายภาพในเวลาเดียวกัน
                 2. พอร์ต Composite กับ S-video ก็เป็นพอร์ตหนึ่งที่จะมีใน Projector (โปรเจคเตอร์) ทีโดยพอร์ตทั้งสองแบบนี้จะใช้ในการรับสัญญาณภาพจากเครื่องเล่น VCR และ DVD ได้ทั้งระบบแบบเก่า (composite) และระบบแบบใหม่ (S-video) มา ซึ่งถ้าจะใช้ส่วนนี้ก็จะมีหาซื้อเครื่องที่มีพอร์ตสำหรับต่อไว้ด้วย
                 3. พอร์ต Component video บางบริษัทอาจเรียกว่า Y, R-Y, B-Y หรือ Y PbPr เป็นพอร์ตที่ทำหน้าที่รับสัญญาณวิดีโอจากดาวเทียม โดยในเครื่องเล่น DVD รุ่นใหม่จะมีการเพิ่มพอร์ตนี้เสริมเข้าไปเพิ่มเติมจากพอร์ต composite และ S-video ที่มีอยู่แล้วด้วย
                 4. พอร์ต Audio In ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงจากคอมพิวเตอร์ หรือเครื่องเล่น VCR หรือ DVD เพื่อทำการส่งต่อไปที่เครื่อง Projector เพื่อช่วยให้ผู้ชมได้ยิน เสียงประกอบด้วย แต่ตัวเครื่อง Projector ก็จะต้องมีลำโพงอยู่ในตัวด้วย หรืออาจจะใช้เป็นทางผ่านเพื่อต่อใช้งานอย่างอื่นก็ได้
                 5. พอร์ต Audio Out ทำหน้าที่ส่งสัญญาณเสียงจากเครื่อง Projector ไปยังลำโพงภายนอก เพื่อให้เกิดความดังหรือความชัดเจนของเสียงที่ดีขึ้น

การปรับภาพ และควบคุม
             การปรับภาพ
             
เครื่องมือที่ช่วยในการปรับภาพของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) นั่นก็คือ ระบบโฟกัสและระบบการซูม โดยที่เครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) บางตัวบางรุ่นบางยี่ห้อจะสามารถปรับในสิ่งเหล่านี้ได้แบบ manual ด้วยการหมุนวงแหวนที่อยู่บนตัวเลนส์ด้านหน้าของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) แต่ส่วนใหญ่แล้วจะมาพร้อมกับระบบควบคุมโฟกัสและการซูมซึ่งจะทำให้ง่ายต่อการใช้งานโดยการกดปุ่มที่อยู่บน Projector (โปรเจคเตอร์) ก็สามารถที่จะปรับค่าต่างๆ ได้แล้ว ในบางรุ่นอาจจะใช้รีโมทในการควบคุม
ตัวเลนส์ของเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ก็มีความสำคัญเหมือนกัน โดยถ้าเลนส์มีการขยายที่ดีก็จะช่วยให้การควบคุมขนาดของภาพทำได้ดีขึ้นโดยการ Zoom in หรือ zoom out ซึ่งก็อาจจะเป็นประโยชน์สำหรับห้องแต่ละห้องที่อาจจะมีขนาดของจอภาพไม่เท่ากัน

             ระบบควบคุม
                 ระบบรีโมทคอนโทรลจะช่วยให้การควบคุมการทำงานของ Projector (โปรเจคเตอร์), การปรับความคมชัดของภาพ หรือการปรับแต่งอื่นๆ สามารถทำได้ง่ายขึ้นซึ่งจะทำการจากมุมใดมุมหนึ่งในห้องก็ได้ แต่อย่างไรก็ตามปุ่มที่อยู่บนรีโมทนั้นอาจจะเป็นปุ่มที่ทำให้การใช้งานง่ายก็จริงแต่ไม่ควรที่จะละเลยที่จะใช้ปุ่มที่อยู่กับเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) เพราะถ้าเกิดรีโมทเสียขึ้นมาละยุ่งแน่

สารพัดประโยชน์
                 แม้ว่าในการใช้งาน Projector (โปรเจคเตอร์) ส่วนใหญ่จะต่อเชื่อมกับเครื่องคอมพิวเตอร์เพื่อใช้งานในการนำเสนอต่างๆ แต่ก็ยังมีอีกหลายรุ่นที่สามารถต่อเชื่อมกับเครื่อง VCR และ DVD ได้ด้วย ซึ่งก็จะช่วยให้สามารถฉายภาพยนตร์บนจอใหญ่ๆ ขึ้นมาได้ อย่างและยังประหยัดค่าโทรทัศน์จอยักษ์ได้มากทีเดียว
นอกจากนี้แล้วเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) บางรุ่นอาจจะมีความสามารถของ Visualizer รวมอยู่ด้วย โดยจะสามารถที่จะทำให้แสดงภาพแบบ 3 มิติได้เพิ่มขึ้นมาอีกด้วยก็จะทำให้ประโยชน์ของตัว Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นเพิ่มมากขึ้นไปอีก แต่ก็อีกนั่นแหละราคาของตัวเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) อาจจะเพิ่มตามขึ้นมาด้วย

ร้านค้า/ตัวแทนจำหน่าย
                 นี่เป็นสิ่งที่จำเป็ฯและสำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับการเลือกซื้ออุปกรณ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Projector (โปรเจคเตอร์) หรืออุปกรณ์อื่นใดก็ตาม แต่สำหรับ Projector นั้นร้านค้าที่นำมาขายนั้นส่วนใหญ่ก็จะเป็นร้านเจ้าใหญ่ๆ ทั้งนั้นไม่ค่อยมีร้านค้าย่อยๆ ทำการซื้อมาเก็บในสต๊อกไว้รอขายเนื่องจากราคาของ Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นค่อนข้างสูงอาจจะไม่คุ้มค่ากับงบประมาณที่ต้องเสียไป แต่ก็อาจจะมีไปสั่งซื้อจากร้านใหญ่ๆ มาอีกทีหนึ่งเมื่อมีลูกค้ามาสั่งซื้อ โดยในส่วนนี้ถ้าเป็นไปได้ก็ทำการซื้อจากร้านค้ารายใหญ่ๆ เลยก็ได้แต่ก็ให้ศึกษาข้อมูลของร้านนั้นให้ดีด้วย เช่น การบริกการเป็นอย่างไร ไม่ใช้ว่าขายแล้วทิ้งไม่รับผิดชอบลูกค้าเลย หรืออีกร้านหนึ่งขายในราคาที่สูงกว่านิดหน่อยแต่ก็มีการรับประกันที่ดีกว่าก็ให้เลือกในกรณีหลังจะดีกว่า และอีกประการหนึ่งคือพนักงานขายที่มีการเดินสายขายเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ไปยังที่ต่างๆ ก็ให้ทำการตรวจสอบข้อมูลของบุคคลเหล่านี้ด้วยว่าสักกัดอยู่ที่ร้านนี้จริงหรือไม่มิใช่มาแอบอ้างแล้วทำให้เกิดข้อผิดผลาดขึ้นมาได้

บทสรุป
                 เนื่องจากตัวเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นมีราคาที่ค่อนข้างสูงเมื่อคิดที่จะซื้อมาใช้งานก็จะต้องมีการวางแผนกันพอสมควร เนื่องจาก Projector (โปรเจคเตอร์) มีอุปกรณ์ที่สำคัญคือ เครื่องฉายไฟ, เลนส์ และมีพอร์ต RGB ดังนั้นการที่จะซื้อเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) ที่มีระบบต่างๆ ครบสมบูรณ์ 100% นั้นบอกได้เลยว่าไม่มีทางที่จะเป็นไปได้ ในรุ่นหนึ่งอาจจะมีคุณสมบัติที่อีกรุ่นหนึ่งไม่มีก็ได้ แต่หากรู้จักปรับใช้งานอย่างเหมาะสมแล้วก็จะสามารถใช้งานเครื่อง Projector (โปรเจคเตอร์) นั้นได้ดีมากยิ่งขึ้น


 

 (gallery) 2010227_57329.jpg

 

 

Advertising Zone    Close

Online: 1 Visits: 15,732 Today: 5 PageView/Month: 5

ด้วยความปราถนาดีจาก "สยามทูเว็บดอทคอม" และเพื่อป้องกันการเปิดเว็บไซต์เพื่อหลอกลวงขายของ โปรดตรวจสอบร้านค้าให้แน่ใจก่อนตัดสินใจซื้อของทุกครั้งนะคะ    อ่านเพิ่มเติม ...